โรคตาแดง เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตาซึ่งเป็นเยื่อเมือกใสคลุมผิวลูกตาและด้านในของเปลือกตา เมื่อเยื่อบุตาติดเชื้อ หลอดเลือดจะขยายตัวชัดขึ้น ทำให้ดวงตามีสีชมพูหรือออกแดง สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคตาแดง คือ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาการภูมิแพ้ และท่อน้ำตาอุดตันในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยมักมีอาการระคายเคืองที่ดวงตา แต่มักไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อาการระคายเคืองจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษา

โรคตาแดง คืออะไร

โรคตาแดง เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ  เชื้อที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อยได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และที่ทำให้เกิดการระบาดที่บ้านและที่โรงเรียน จะเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  เป็นโรคระบาดทางตาที่พบได้บ่อย  มักมีการระบาดเป็นช่วงๆ เป็นประจำทุกปี ส่วนใหญ่เป็นในช่วงฤดูฝน ติดต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส การใช้ของร่วมกัน การไอจาม แม้กระทั่งการหายใจรดกันก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน  และเมื่อเกิดเป็นตาแดงขึ้น จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์

โดยผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการตาแดงอย่างเฉียบพลัน เคืองตามาก เคืองแสง เจ็บตา น้ำตาไหล ตาบวม มักไม่มีขี้ตาหรือมีขี้ตาเป็นเมือกใสๆ เล็กน้อย ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตามาก บางคนมีต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโตและเจ็บ ผู้ที่เป็นตาแดงมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วัน อาจลุกลามเป็นกับตาอีกข้างหนึ่งได้ ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน

ในบางรายเมื่ออาการตาแดงดีขึ้น อาจเกิดมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้ คือ กระจกตาอักเสบ (กระจกตาหมายถึง ส่วนที่เป็นตาดำ ลักษณะเป็นวงกลมอยู่ตรงกลางลูกตาด้านหน้า) โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง และยังเคืองตาอยู่ทั้งๆ ที่อาการดีขึ้นแล้ว มักเกิดในช่วงวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง กระจกตาอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นนานเป็นเดือนกว่าจะหาย

อาการของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส

ส่วนการรักษาโรคตาแดงนั้นยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นยาต้านไวรัสต่างๆ ที่มีอยู่จึงใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ ส่วนใหญ่จึงให้การรักษาตามอาการ เช่น

  • ถ้าตาอักเสบมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหยอดลดอาการอักเสบ
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา เคืองตา
  • ถ้ามีขี้ตา ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด ใส่แว่นกันแดด เพื่อลดอาการเคืองแสง ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ พักผ่อนให้เต็มที่และพักการใช้สายตา ส่วนการป้องกันการติดโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากติดต่อกันได้ง่ายมาก และเมื่อเป็นแล้วก็ยังไม่มียาที่รักษาได้โดยตรง มักติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน การป้องกันไม่ให้มีการระบาดแพร่กระจายโรคสามารถทำได้โดยการแยกผู้ป่วย เช่นเด็กเล็กที่ยังไม่รู้จักป้องกันการแพร่กระจายโรค ควรให้หยุดเรียน  และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ควรหยุดงาน
  • ผู้ที่เป็นไม่ควรจับต้องบริเวณดวงตา หรือขยี้ตาเพราะเชื้อโรคอาจติดไปยังสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้และไม่ใช้สิ่งของ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ เสื้อผ้าปะปนกับผู้อื่น ไม่พูดไอจามรดผู้อื่น
  • ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด

สาเหตุของโรคตาแดงเกิดจากอะไร

สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัสอะดีโน เชื้อชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เช่น เชื้อไวรัสโรคเริม  เชื้อไวรัสโรคงูสวัด และเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงเชื้อไวรัสโรคโควิด 19 เมื่อผู้ป่วยเป็นหวัดหรือติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บคอ ผู้ป่วยอาจเป็นโรคตาแดงซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้ การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดหรือการร่วมใช้คอนแทคเลนส์ของบุคคลอื่นอาจทำให้เป็นโรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน

โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียนั้นติดต่อกันได้ง่าย โดยผ่านทางสารคัดหลั่งจากดวงตาข้างที่ติดเชื้อ ซึ่งโรคตาแดงชนิดนี้อาจติดเชื้อข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ และอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัส
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคภูมิแพ้
  • สารเคมีเข้าตา
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
  • ท่อน้ำตาอุดตันในเด็กแรกเกิด

โรคตาแดง

ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา

โรคภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ซึ่งอาจมีผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) เป็นชนิดของแอนติบอดีที่ร่างกายผลิตเพื่อตอบสนองกับสารก่อภูมิแพ้  แมสต์เซลล์ (mast cell) ที่อยู่ในเมือกหุ้มตาและทางเดินหายใจจะถูกกระตุ้นให้หลั่งสารอักเสบที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตาแดงซึ่งเป็นอาการหนึ่งของภูมิแพ้ ผู้ป่วยภูมิแพ้ที่เยื่อบุตาอาจมีอาการจาม น้ำมูกใส คันตา น้ำตาไหล และตาอักเสบ อาการส่วนใหญ่มักทุเลาลงเมื่อใช้ยาหยอดตา

เมื่อสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาทำให้ตาระคายเคืองจนเกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบได้ การพยายามล้างสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมก็อาจทำให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองและตาแดงได้ อาการอื่นที่พบร่วมได้ เช่น น้ำตาไหล มีขี้ตา ซึ่งมักหายเองภายใน 1 วัน

ควรรีบพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นหลังล้างทำความสะอาดตา หรือโดนสารเคมีประเภทด่างหรือโซดาไฟ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างถาวรได้ หรือ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังล้างดวงตา สิ่งแปลกปลอมอาจยังคงอยู่ในตา ทำให้ครูดกระจกตาและตาขาวได้

การป้องกันโรคตาแดง

เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนตามสุขลักษณะที่ดี ดังต่อไปนี้

  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ และล้างทันทีหากสัมผัสใบหน้า ดวงตา หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา เพราะจะทำให้อาการแย่ลงหรือทำให้ดวงตาอีกข้างติดเชื้อได้
  • ใช้กระดาษทิชชูชนิดนุ่มเช็ดขี้ตาหรือซับน้ำตาบ่อยๆ แล้วทิ้งในถังขยะที่ปิดมิดชิด
  • ไม่ใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้งสองข้าง และให้หยอดตาเฉพาะข้างที่มีอาการเท่านั้น
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วย
  • หยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท
  • งดว่ายน้ำในสระว่ายน้ำในช่วงที่โรคตาแดงระบาด
  • พักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
  • พักการใช้สายตา และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นแต่กรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามากอาจปิดตาชั่วคราว หรือสวมแว่นกันแดดแทน

โรคตาแดงติดต่อได้ง่ายแหมือนโรคหวัด หากสามารถปฏิบัติตัวตามสุขลักษณะที่ดีได้ ผู้ป่วยอาจสามารถกลับไปทำงานหรือไปโรงเรียน ในกรณีที่ไม่สามารถลาหยุดได้

การป้องกันโรคตาแดงในเด็กวัยแรกเกิด

ดวงตาของเด็กแรกเกิดจะสัมผัสกับแบคทีเรียทางช่องคลอดของมารดา ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวไม่มีผลใด ๆ ต่อตัวมารดา แต่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาในทารกแรกเกิด ซึ่งอาจเกิดเยื่อบุตาอักเสบรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อรักษาการมองเห็น  โดยทั่วไปเด็กทารกแรกเกิดจะได้รับการป้ายยาปฏิชีวนะที่ดวงตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคตาแดง

ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องไปที่โรงพยาบาล แพทย์สามารถทำการตรวจวินิจฉัยจากการถามอาการและตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย ในบางรายอาจจำเป็นต้องนำตัวอย่างสารคัดหลั่งในดวงตาไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยมักตรวจในรายที่มีความรุนแรงหรือเสี่ยงสูง เช่นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง หรือมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา

การรักษาโรคตาแดงโดยมากเป็นการบรรเทาอาการ ซึ่งได้แก่ การใช้ยาหยอดตา การทำความสะอาดเปลือกตาด้วยผ้าเปียก หรือการใช้ผ้าประคบร้อนหรือเย็น ควรหยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหาย แพทย์อาจแนะนำให้ทิ้งคอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งที่ผู้ป่วยมีอยู่ หากใส่คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ระยะยาว ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ชนิดใส่ระยะยาวก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ และควรปรึกษาแพทย์ว่าควรเปลี่ยนกล่องใส่คอนแทคเลนส์ที่ใช้ก่อนหรือระหว่างที่เป็นโรคตาแดงหรือไม่ รวมถึงควรหยุดใช้และทิ้งเครื่องสำอางที่ใช้กับดวงตาก่อนเกิดอาการ

โดยทั่วไปยาหยอดตาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะนั้นไม่จำเป็น เนื่องจากอาการตาแดงมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การใช้ยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดการแพ้ยาหรือเชื้อดื้อยาได้  การติดเชื้อไวรัสมักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยอาการมักเริ่มจากดวงตาเพียงข้างเดียว จากนั้นอีก 2-3 วันก็อาจลามไปติดอีกข้าง แต่ในท้ายที่สุดก็จะหายได้เอง ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสอันมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรคเริมอาจต้องใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาร่วมด้วย

การดูแลรักษาที่บ้านและการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต

เพื่อบรรเทาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ผู้ป่วยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้ผ้าประคบเย็นหรือร้อน
    ผู้ป่วยสามารถทำผ้าประคบดวงตา โดยแช่ผ้าสะอาด ไม่เป็นขุยลงในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น บิดให้หมาดและประคบลงบนดวงตาที่มีอาการ ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการได้ หากผู้ป่วยชอบความอุ่นก็ใช้ผ้าประคบอุ่นได้เช่นกัน ไม่ควรใช้ผ้าผืนเดียวกันประคบดวงตาอีกข้างที่ไม่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ยาหยอดตา
    ยาหยอดตาสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ยาหยอดตาบางชนิดหรือน้ำตาเทียมที่มีสารต้านฮีสตามีน หรือยาชนิดอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้เยื่อบุตาได้
  • คอนแทคเลนส์
    ควรหยุดใช้คอนแทคเลนส์ ระยะเวลาที่ควรหยุดใส่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

ควรปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องซื้อคอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ และกล่องใส่คอนแทคเลนส์ใหม่หรือไม่  สำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดใส่ได้ในระยะยาว ควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

 

โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบเป็นสาเหตุของภาวะกระจกตาอักเสบซึ่งมีผลต่อการมองเห็นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้  ดังนั้นเมื่อมีอาการเจ็บตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตามัวมองไม่ชัด ตาไม่สู้แสง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  tongawaterfrontlodge.com

สนับสนุนโดย  ufabet369